XAM Weekly / 25-28 Dec 2023




แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดทั้งสัปดาห์หุ้นสหรัฐที่ยัง Laggards จะบวกต่ออ่อนๆ (+) คาดญี่ปุ่นและจีนจะยัง Underperformed (-)

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • มองช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2023 ตลาดน่าจะบวกต่อ โดยเฉพาะ US Laggards ทั้ง Small-Cap และ Property & Infra Stock (+,+)  มองว่าปัจจัยเสี่ยงการเมืองภายในสหรัฐและความขัดแย้งภายนอกทั้ง รัสเซีย-ยูเครน, ตะวันออกกลาง และ US-China Techwar จะยังไม่รุนแรงขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2023 
  • เป็นช่วงเวลาปรับสมดุลพอร์ตการลงทุน โดยอาจลดสัดส่วนการลงทุนที่ปรับตัวขึ้นมาเร็วแรงในระยะสั้นและสะสมเงินสดไว้มากขึ้นเพื่อตั้งรับการปรับฐานในอนาคตหากมี หรือการ Sector Rotation ใน Q1 2024 

Weekly Focus

  • ดัชนีตลาดบ้าน NAHB สหรัฐเดือน ธ.ค. ออกมามากกว่าคาดเล็กน้อยที่ 37 (Exp. 36) เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว ด้านการขอใบอนุญาตสร้างบ้านเดือน พ.ย. ต่ำคาดเล็กน้อยที่ 1.46 ล้านหลัง (Exp. 1.47) ส่วนการเริ่มต้นสร้างบ้านใหม่ในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 1.56 ล้านหลัง (Exp. 1.36) ด้านอัตราการขายบ้านคงค้างสหรัฐเดือน พ.ย. มากกว่าคาดที่ 3.82 ล้านหลัง (Exp. 3.77) XSpring AM มองว่าตลาดอสังหาสหรัฐยังแข็งแกร่งแม้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยมาร่วม 2 ปี (+) และมองว่าหลังจากวันที่ 13 ธ.ค. 2023 ที่ผ่านมาหลังจากเฟดกลับทิศนโยบายการเงินมองจะดีกับหุ้นกลุ่มวัฏจักรเศรษฐกิจที่ Underperformed หุ้น Growth ในปี 2023 (+) 
  • การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกสหรัฐ (15 ธ.ค.) น้อยกว่าคาดที่ 205,000 ตำแหน่ง (Exp. 215,000) ส่วนดัชนีการผลิตเฟดฟิลาเดเฟียเดือน ธ.ค. หดตัว -10.5 (Exp. -3) ด้านดัชนีการผลิตเฟดแคนซัสหดตัว -4 (พ.ย. -3) สะท้อนตลาดงานสหรัฐยังแข็งแกร่ง แต่ตัวเลขภาคการผลิตเริ่มชะลอตัวลง ส่วนเงินเฟ้อ Core PCE เทียบรายปีในเดือน พ.ย. น้อยกว่าคาดที่ 3.2% (Exp. 3.3%) ส่วนเงินเฟ้อ PCE ต่ำคาดเช่นกันที่ 2.6% (Exp. 2.8%) (+) ในขณะที่ Leading Indicator อย่างดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐเดือน พ.ย. มากกว่าคาดที่ 5.4% (Exp. 2.2%) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.มิชิแกนมากกว่าคาดที่ 69.7 (Exp. 69.4) ส่วนความคาดหวังเงินเฟ้อ 5 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นกว่าคาดที่ 2.9% (Exp. 2.8%) โดยรวมเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง (+) แม้บางตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มผิดหวัง แต่จุดสำคัญคือเงินเฟ้อสำคัญปรับตัวต่ำคาด (+,+) และเฟดกลับทิศนโยบาย มองเป็นโมเมนตัมที่ดีช่วงเข้าสู่ Q1 2024 (+) โดยเฉพาะต่อหุ้นกลุ่มที่เป็นหุ้นวัฏจักรในดัชนีหุ้นสหรัฐ (+) 
  • ดัชนีเงินเฟ้อยุโรป Core CPI เทียบรายปี เดือน พ.ย. ออกมาตามคาดที่ 3.6% ส่วน CPI ออกมาตามคาดที่ 2.4% โดย CPI เทียบรายเดือนออกมาน้อยกว่าคาดที่ -0.6% (Exp. -0.5%) โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยุโรปออกมาดีกว่าคาดในเดือน พ.ย. ที่ -15.1 (Exp. -16.4) มองว่าหุ้นยุโรปขนาดกลางเล็กกองทุน Alpha Fund ยังมี Upside ที่ดีกว่าหุ้นใหญ่และดัชนีหุ้นเยอรมันในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้า (+) 
  • BOJ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ในวันอังคารที่ 19 ธ.ค. 2023 ด้านยอดการส่งออกเดือน พ.ย. หดตัวกว่าคาดที่ -0.2% (Exp. 1.5%) ส่วน Fund-Inflow จากต่างชาติเข้าหุ้นญี่ปุ่น (15 ธ.ค. 2023) ยังเพิ่มขึ้น 273,800 ล้านเยน (สัปดาห์ก่อน Outflow 992,000 ล้านเยน) ด้านเงินเฟ้อ CPI เทียบรายปีเดือน พ.ย. อ่อนตัวลงมาที่ 2.8% (ต.ค. 3.3%) ส่วน Core CPI อ่อนตัวลงมาที่ 3.8% (ต.ค. 4.0%) XSpring AM ชอบพื้นฐานหุ้นญี่ปุ่นที่น่าสนใจมากขึ้นโดยเปรียบเทียบทั้งกับตัวเองและหุ้นประเทศใหญ่ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2023 ที่ผ่านมา (+) แต่ด้วย Valuation หุ้น Large-Cap ที่ตึงตัว  มองว่ารอสะสมยามอ่อนตัว แต่ยังชอบหุ้น Japan Small-Cap Value (+) 
  • แรงกดดันในกลุ่มเกมยังฉุดหุ้นจีน H-Shares ปรับตัวลงแรง Underperformed หุ้นโลก (-) PBOC คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายจีนที่ 3.45% ในวันที่ 20 ธ.ค. 2023 ด้านตัวเลขการลงทุนทางตรง FDI ในจีนเดือน พ.ย. เทียบรายปียังอ่อนตัวลงไปที่ -10% (ต.ค. -9.4%) XSpring AM มองเห็นว่าปัญหาในภาคอสังหาจีนต้องใช้เวลายาวนานในการแก้ไข (-) นักลงทุนต้องอดทนรอในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าช็อตที่จีนจะทำผลตอบแทนได้ดีมากกว่าประเทศอื่นต้องเป็นจังหวะที่เศรษฐกิจประเทศใหญ่ทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่นแย่กว่าคาดมาก ในขณะที่จีนดีกว่าและมีหลายๆประเด็น Positive Surprise ซึ่งคาดว่าจะยังไม่เกิดขึ้นใน 3-12 เดือนข้างหน้า แนะนำให้ใช้ความอดทนในการถือครองจีนต่อไปอีกอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป (+) 
  • หุ้นไทยเริ่มเห็นโมเมนตัมราคาอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น (+) มองว่าการยืนที่ระดับ 1,400 จุดได้จะสร้างฐานที่ดีซึ่งเพิ่มโอกาสที่หุ้นไทยจะกลับไปที่ 1,480-1,520 จุดในครึ่งปีแรกของปี 2024 (+) ซึ่งเศรษฐกิจมหภาคไทยเป็น K-Shape ชัดเจนในระยะยาว ทำให้การเลือกลงทุนต้องเลือกหุ้นกลุ่มที่ยังเป็นเครื่องจักรสำคัญของไทย (มี Edge ชัด) เช่น ธุรกิจภาคบริการ, การท่องเที่ยว , Healthcare Related และ Consumer Product ที่การส่งออกเติบโตดี (+) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Slightly Overweight Global Energy
  • Slightly Overweight Global Property (Interest Rates Sensitive Theme)
  • Slightly Overweight German & EU Alpha Stock (Laggards & Low Valuation Play)
  • Slightly Overweight India & South Korea Stock
  • Slightly Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight Laggards Thematic ETF เช่น ARKG ETF
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Blended มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  • KT-ENERGY กองทุนหุ้นพลังงาน
  • KKP-GINFRAEQ-H กองทุนหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก และ K-GPROP-A(A) กองทุนอสังหาทั่วโลก
  • K-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรป, SCBEUSM หุ้นขนาดกลางเล็กยุโรป, TMBGER หุ้นเยอรมัน
  • KT-INDIA, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • SCBUSSM, ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • TMB-ES-GENOME ตอน ARKG ETF <33$
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha , ONE-HOSPITAL

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์