เปิดบัญชีด้วยตัวเอง
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนภายใต้การจัดการของบลจ. เอ็กซ์สปริง ควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนที่ต้องการลงทุนอย่างละเอียด โดยสามารถติดต่อขอรับเอกสารได้จากบลจ. เอ็กซ์สปริง หรือตัวแทนสนับสนุนการขายกองทุนทุกแห่ง ทั้งนี้ผู้ลงทุนใหม่สามารถทำการเปิดบัญชีใหม่ด้วยการกรอกแบบฟอร์มดังต่อไปนี้ และยื่นเอกสารประกอบการเปิดบัญชีด้วยตนเอง ที่บลจ. เอ็กซ์สปริง หรือตัวแทนสนับสนุนการขายกองทุนดังกล่าวทุกแห่ง
แบบฟอร์มสำหรับเปิดบัญชีกองทุนใหม่
1. คำขอเปิดบัญชีกองทุน สำหรับกรณีเปิดบัญชีใหม่
2. ใบรายละเอียดลูกค้า
3. หนังสือขอให้หักบัญชีเงินฝาก (เมื่อผู้ลงทุนประสงค์ที่จะชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนโดยวิธีการหักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ลงทุนใน BBL, KBank, SCB, BAY ทั้งนี้ในการดำเนินการขออนุญาตจากธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝากที่กำหนดนั้นอาจใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2 สัปดาห์)
สำหรับบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี
สำหรับนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์อายุไม่เกิน 30 วัน นับจากวันออกหนังสือรับรอง
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- หนังสือบริคณห์สนธิ
- ใบสำคัญการแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทางของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (ควรเป็นกรรมการผู้จัดการ 1 ท่าน)
- บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
- รายงานการประชุมคณะกรรมการอนุมัติให้บริษัทเปิดบัญชีกองทุนกับ บลจ.เอ็กซ์สปริง
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท
- ตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และเงื่อนไขการลงนาม
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของนิติบุคคลหน้าแรกที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชี เอกสารสำเนาทั้งหมด จะต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยกรรมการผู้มีอำนาจในการลงนาม
ข้อแนะนำสำหรับผู้ลงทุน
- ชื่อบัญชีกองทุนควรเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อบัญชีเงินฝาก ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ธนาคารปฏิเสธที่จะรับเงินปันผล และ/หรือ ค่าขายคืนหน่วยลงทุนเข้าในบัญชีเงินฝากนั้น
- การเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชีกองทุน จะทำได้ต่อเมื่อท่านเปลี่ยนชื่อ-สกุลตามกฎหมายเท่านั้น
- สำหรับบัญชีบุคคลธรรมดา ท่านควรแจ้งใหบริษัทฯทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลนั้น สำหรับท่านที่ไม่ประสงค์จะหักภาษีจากเงินปันผล ณ ที่จ่าย ท่านมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินปันผลนั้นรวมเป็นรายได้ของท่านเพื่อใช้คำนวณฐานภาษีเงินได้ประจำปีต่อไป