XAM Weekly / 4-8 Dec 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดทั้งสัปดาห์หุ้นสหรัฐที่ยัง Laggards จะบวกต่อ (Health Tech ยังไปได้ หาก US 10Y Yield ยังอยู่กรอบ 4.2-4.3%)

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • มีประกาศ ISM ภาคบริการสหรัฐคืนวันอังคาร การจ้างงานภาคเอกชน ADP คืนวันพุธ อัตราการว่างงานคืนวันศุกร์ โดยยังมองว่า VIX Index จะซื้อขายที่ <14.5% รวมถึงคาดว่า US 10Y Yield <4.3%  มองว่าหุ้นที่ถูกขายเยอะเกินไปในช่วงก่อนหน้านี้โดยเฉพาะหุ้นขนาดกลางจะมี Short-Term Upside ที่ดีกว่า (+) 
  • สัปดาห์นี้มีรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไฉซินภาคบริการจีน และตัวเลขการส่งออกจีน มองว่าหุ้นจีนยัง Sideway ) เคลื่อนไหวตามความคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจ )

Weekly Focus

  • GDP Q3 2023 สหรัฐออกมามากกว่าคาดที่ 5.2% (Exp. 5.0%) ซึ่งรวมถึงเงินเฟ้อ PCE เทียบรายเดือนในเดือน ต.ค. ต่ำคาดที่ 0% (Exp. 0.1%) และ Core PCE ออกมาตามคาดที่ 0.2% ซึ่งสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่งพร้อมเงินเฟ้อที่ปรับตัวลงมากกว่าคาด (+) ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจอื่นโดยรวมสะท้อนทิศทางการชะลอตัวลงอ่อนๆ ) โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ISM หดตัวมากกว่าคาดที่ 46.7 (Exp. 47.6) ด้านคณะกรรมการเฟดยังส่งสัญญาณ Mixed Signal โดยบางส่วนยังแสดงความเห็นเปิดกว้างโอกาสขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่บางส่วนมองเฟดน่าจะไม่ต้องขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ) คืนวันศุกร์ที่ผ่านมาหุ้นที่เซนซิทีฟกับดอกเบี้ยและเศรษฐกิจปรับขึ้นต่อได้แรงตามที่เราคาดได้แก่ S&P 500 Real Estate และ Russell 2000 (+) หลัง Laggards มาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา โดย IWO ETF (Russell Growth 2000 ETF) +2.63% ปิดที่ 231$ ในวันศุกร์ ส่วน ARKK ETF +5% ปิดที่ 48.4$ และ ARKG ETF +4.6% ปิดที่ 29$ ด้าน DAPP ETF +9.48% ปิดที่ 7.51$ (+)
  • เศรษฐกิจยุโรปเริ่มเห็นทิศทางที่ดีขึ้นในบางตัวเลขเศรษฐกิจ อย่างเช่นดัชนี Economic Sentiment ที่ออกมามากกว่าคาดในเดือน พ.ย. ที่ 93.8 (Exp. 93.7) รวมถึง Services Sentiment ดีกว่าคาดที่ 4.9 (Exp. 4.3) รวมถึงเงินเฟ้อ CPI เทียบรายปีเดือน พ.ย. ต่ำคาดที่ 2.4% (Exp. 2.7%) ส่วน Core CPI ต่ำคาดที่ 3.6% (Exp. 3.9%) XSpring AM มองหุ้นกลุ่ม High Beta ยุโรปจะ Outperformed ทั้งหุ้นวัฏจักร, หุ้น Growth, หุ้น Luxury Brand และ Small-Cap Stock (+) 
  • ตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลายตัวเลขสะท้อนเศรษฐกิจยังอยู่ในทิศทางที่ดี โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนขยายตัวกว่าคาดที่ 1% (Exp. 0.8%) ส่วนความเชื่อมั่นภาคการบริโภคเดือน พ.ย. มากกว่าคาดที่ 36.1 (Exp. 35.6) รวมถึงอัตราการว่างงานเดือน ต.ค. ต่ำคาดที่ 2.5% (Exp. 2.6%) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต Jibun Bank เดือน พ.ย. ก็หดตัวน้อยกว่าคาดที่ 48.3 (Exp. 48.1) มีเพียงยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. เทียบรายปีที่ออกมาต่ำคาดที่ 4.2% (Exp. 5.9%) ด้านหุ้นญี่ปุ่นยังดูน่าสนใจในระยะกลางยาวจากนโยบายการเงินที่สนับสนุนหุ้นมากกว่าประเทศใหญ่ประเทศอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญ รวมถึงการที่นักลงทุนต่างชาติยังถือครองหุ้นญี่ปุ่นน้อยเกินไป รวมถึง Expected FX Gain จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่ามากในรอบ 40 ปี ทำให้เชื่อว่ายังมีแรงส่งเชิงบวกต่อหุ้นญี่ปุ่นแม้ Outperformed มาแล้วในปี 2023 XSpring AM แนะนำ Buy-On-Dip หุ้นญี่ปุ่นตอน Nikkei 225 อยู่ระดับ 32,000 จุด (+) 
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดย NBS จีน เดือน พ.ย. ภาคการผลิตหดตัวกว่าคาดที่ 49.4 (Exp. 49.7) ภาคบริการออกมาที่ 50.2 (Exp. 51.1) ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อไฉซินภาคการผลิตเดือน พ.ย. มากกว่าคาดที่ 50.7 (Exp. 49. เศรษฐกิจจีนยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งและต่อเนื่อง (-) มองว่าทางการจีนพยายามที่จะแก้ปัญหาแต่ระมัดระวังการ Oversupply ของอสังหาริมทรัพย์และ Supply Chain จึงยังไม่ใช้ Bazooka Package ตามที่หลายนักวิเคราะห์คาดหวัง XSpring AM มองว่าจีนยังสามารถลงทุนได้หากนักลงทุนมองการลงทุนในระยะ 5-10 ปี แต่ระยะสั้นอาจจะต้องใช้เวลาเนื่องจากหุ้นจีนยังไม่น่าสนใจโดยเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น และยังมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจระยะสั้น/ระยะกลางสูง (-) 
  • GDP อินเดีย Q3 2023 เทียบรายปีออกมามากกว่าคาดที่ 7.6% (Exp. 6.8%) ภาพรวมการเติบโตของ Loan Growth ดี รวมถึงเศรษฐกิจทุกภาคส่วนโตแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการลงทุนทางตรงจากบริษัทต่างประเทศขนาดใหญ่เพื่อกระจายความเสี่ยงออกจากจีนยังทำให้อินเดียเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการลงทุนทางตรง (+) รวมถึง Fund-Outflow จากต่างชาติที่ออกจากหุ้นจีนยังมาที่หุ้นญี่ปุ่นและอินเดีย (+) XSpring AM มองว่าหุ้นอินเดียน่าสนใจมากในระยะกลาง/ยาว แต่อย่างไรก็ตามด้วย Valuation ที่ค่อนข้างสูงแนะนำ Buy-On-Dip หรือทยอยสะสมหุ้นอินเดีย (+) 
  • แบงค์ชาติไทยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% XSpring AM คาดว่าแบงค์ชาติไทยไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมแล้ว ) มองว่าแบงค์ชาติขึ้นดอกเบี้ยเพื่อปิดแก็ปส่วนต่างดอกเบี้ยซึ่งฝั่งสหรัฐคาดว่าดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในทิศทางคงและลงเช่นกัน ) ด้านภาคการบริโภคเดือน ต.ค. เทียบรายเดือนขยายตัวขึ้น 1.7% (ก.ย. -0.5%) ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 1.4% (ก.ย. -1.2%) XSpring AM มองเศรษฐกิจไทยยังเห็นการฟื้นตัวแม้ภาคการท่องเที่ยวจะยังผิดหวังจากนักท่องเที่ยวจีน (-) หุ้นไทยต้องลงทุน Alpha Fund และมอง 1-2 ปีขึ้นไป ระยะสั้นมองยังเสียเปรียบหลายภูมิภาคที่มีลมหนุนทางเศรษฐกิจ และ Fund-Flow ) 

กลยุทธ์การลงทุน

  • Overweight Japan Value Stock
  • Slightly Overweight หุ้นสหรัฐ Small-Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัว
  • Slightly Overweight หุ้น Semiconductor ทยอยสะสมลงทุน
  • Slightly Overweight หุ้น Large-Cap Growth สหรัฐ (Ex Tesla, NVIDIA) รอ Buy-On-Dip
  • Slightly Overweight หุ้นไทย Mid-Small Cap Stock มีโอกาสสำหรับกองทุนที่เลือกหุ้น Super Stock มองกองไทย Healthcare มองว่ายังเป็นภาคส่วนที่เป็น Growth Engine สำคัญของไทย

คำแนะนำ

  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12, M-MIDSMALL, TLMSEQ เป็นกองหุ้นไทย Alpha 
  • TMB-ES-GCG, K-GTECH
  • SCBUSAA รับ 4.7 บาท, KF-US รับ 11.9 บาท, SCBROBOA รับ 14.3 บาท
  • เก็งกำไร M-META ที่ราคา METV ETF <10.5$ , TMB-ES-GINNO ที่ราคา ARKK ETF <43$ และ LHSEMI ที่ราคา SOXX ETF <500$

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลดไฟล์