XAM Weekly 18-22 Sep 2023


แนวโน้มใหญ่รายสัปดาห์

  • คาดตลาดแกว่งตัว Sideway-Up 

แนวโน้มสัปดาห์นี้

  • คาดหุ้นเติบโต (Growth Stock) สหรัฐ มีโอกาสฟื้นตัวช่วงกลางสัปดาห์ไปแล้ว XSpring AM มองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และประธานเฟดน่าจะแสดงความคิดเห็นว่าเห็นทิศทางการชะลอตัวลงของเงินเฟ้อ แต่ยังไม่ปิดโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ต.ค. ยังเร่งตัวเพิ่มขึ้น 
  • หากว่าถ้อยแถลงของเฟดเป็นไปในทิศทางที่ค่อนข้างผ่อนคลายมากกว่าคาด (Dovish) คาดว่า Dollar Index จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย และอาจเริ่มเห็น Fund-Flow ไหลเข้าหุ้นตลาดเกิดใหม่เล็กน้อย 

Weekly Focus

  • หุ้นเติบโตขนาดใหญ่สหรัฐ (Large-Cap Growth) ปรับตัวขึ้นได้ดีในคืนวันจันทร์จากความคาดหวังเชิงบวกต่อหุ้น Tesla และ Meta ก่อนจะเผชิญแรงเทขายในวันอังคาร และแกว่งตัวในช่วงวันที่เหลือ ส่วนหุ้นขนาดกลางเล็กเติบโตสหรัฐ (Small-Cap Growth) ตอบรับเชิงลบในคืนวันพุธและฟื้นตัวได้ในคืนวันพฤหัส ก่อนจะมีแรงเทขายออกมาในคืนวันศุกร์
  • คืนวันพุธเงินเฟ้อสหรัฐ Core CPI เทียบรายเดือนออกมามากกว่าคาดที่ 0.3% จากคาดที่ 0.2% เงินเฟ้อส่วนค่าเช่าบ้าน Shelter CPI เทียบรายเดือนเพิ่มขึ้น 0.3% ดีกว่าสองเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 0.4%  และเงินเฟ้อรวมอาหารและพลังงานออกมาตามคาดการณ์ 
  • คืนวันพฤหัสเงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิต PPI สหรัฐเทียบรายเดือนออกมามากกว่าคาดจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น  ด้านยอดค้าปลีกสหรัฐเทียบรายเดือนมากกว่าคาดอย่างมีนัยยะสำคัญจากกำลังซื้อที่เร่งตัวช่วงเดือนที่ผ่านมาแต่คาดว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว การขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังน้อยกว่าคาดสะท้อนตลาดงานสหรัฐยังแกร่ง
  • คืนวันศุกร์ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมสหรัฐเทียบรายเดือนยังแกร่งกว่าคาดมาก ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ภาพรวมทั้งสัปดาห์ตัวเลขเศรษฐกิจยังสะท้อนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งเพิ่มความน่าจะเป็นที่จะทำให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยในครั้งถัดไป 
  • คณะกรรมธิการยุโรปคาดเศรษฐกิจยุโรปจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงทั้งปีนี้และปีหน้า โดยคาด GDP ปี 2023 โต 0.8% (คาดการณ์เดิม 1%) และคาดปี 2024 โต 1.4% (คาดการณ์เดิม 1.7%)
  • คืนวันพฤหัสธนาคารกลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 4% เพื่อให้แน่ใจว่าจะควบคุมเงินเฟ้อในระยะกลางยาวได้ และส่งสัญญาณว่าอาจสิ้นสุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
  • ดัชนีการผลิตในธุรกิจขนาดใหญ่ญี่ปุ่นออกมาดีกว่าคาดมาก รวมถึงดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นหดตัวน้อยกว่าคาด ด้านเงินเฟ้อผู้ผลิตญี่ปุ่นออกมามากกว่าคาดเทียบรายเดือน ภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีโอกาสในการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในระยะกลางยาว
  • วันพฤหัสธนาคารกลางจีนลด RRR เพื่อเอื้อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ได้มากขึ้น ซึ่งนับเป็นครั้งที่ธนาคารกลางจีนลด RRR ติดกันเร็วที่สุดในรอบหลายปี
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีนและยอดค้าปลีกจีนออกมาดีกว่าคาดมาก มีเพียงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรจีนที่ออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย

กลยุทธ์การลงทุน

  •  รอ Buy-On-Dip หุ้นไทยแถว SET Index 1,530
  •  Overweight กองทุนหุ้นเอเชียมากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วสำหรับการลงทุนในระยะกลาง มอง Theme ดอลลาร์อ่อนสนับสนุนหุ้นเอเชียและหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่เป็นหุ้นเติบโต (EM-Growth)
  • เห็นแนวโน้มที่ราคาหุ้นสหรัฐและกองทุนหุ้นโลก Large Cap Growth และ Small Cap Growth มีโอกาสฟื้นตัวในระยะสั้น (1-2 สัปดาห์) แนะนำซื้อเมื่อย่อ (Buy-on-dip)

คำแนะนำ

  • KFHASIA, M-EM Asia/EM Tech
  • ASP-NGF, TMBJPNAE หุ้นญี่ปุ่น
  • TMBINDAE, SCBKEQTG อินเดีย & เกาหลีใต้
  • SCBPGF หุ้นโลก Value, UGD หุ้นกลางเล็ก Durable
  • K-GHEALTH หุ้น Healthcare, ONE-HOSPITAL หุ้นไทยและหุ้นโลก Healthcare
  • ABAGS หุ้นขนาดกลางเล็กสหรัฐ Blended Character
  • ASP-SME, ABSM, ASP-T12 เป็นกองหุ้นไทย Alpha ส่วนหุ้นไทยหุ้นใหญ่กอง SCBDA 
  • SCBUSAA รับ 4.7 บาท, KFUS-A รับ 12.0 บาท, SCBROBOA รับ 14.1 บาท
  • เก็งกำไร M-META เมื่อ METV ETF ลงมาที่ 9.7-9.8$ , TMB-ES-GINNO  เมื่อ ARKK ETF ลงมาที่ 41.5-42.5$ 




ดาวน์โหลดไฟล์

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter