XAM Weekly X-Ray / 4-8 Mar 2024




XAM Shot

  • Go with the flow กองทุนหุ้นโลกน้ำดีและกองทุนหุ้น Tech Diversified Character (Alpha Fund) ยังน่าสนใจ

Weekly Trend

  • ตลาดมีโมเมนตัมเชิงบวก โดยที่ Valuation ดัชนีหุ้นใหญ่ตึงตัว คาดว่านักลงทุนจะหากลุ่มที่ยัง Laggards (Mean Reversion Theme) โดยมองกลุ่ม S&P 500 Cyclical และ Defensive ที่ยัง Laggards น่าสนใจ สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากขึ้น Russell 2000 สำหรับคนที่รับความเสี่ยงสูงมาก Biotech ETF, Digibloc ETF 
  • คาดหุ้นอินเดียและเกาหลีใต้ยังเป็น Rising Star ในเอเชีย ส่วนหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงจากการแถลงนโยบายสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจที่มีโอกาสผิดหวังนักลงทุนในวันอังคารที่ 5 ก.พ. 2024 (โดยสถิติมักจะเป็นการ Sell-on-fact ใน 3 ครั้งล่าสุด) 

Weekly Focus

  • Annualized GDP Q4 23 สหรัฐต่ำคาดเล็กน้อย ด้านเงินเฟ้อ PCE & Core PCE ออกมาตามคาด สะท้อนเศรษฐกิจลดความร้อนแรงลง พร้อมแรงกดดันเงินเฟ้อที่ไม่ได้มากกว่าคาด ซึ่งการที่เศรษฐกิจภาคบริการเริ่มผ่านเฟสพีคไปแล้วและชะลอลง ในขณะที่ภาคการผลิตเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว แม้ยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ พร้อมกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังพอควบคุมได้ คาดว่าจะสนับสนุนโมเมนตัมเชิงบวกกับราคาหุ้นโดยเฉพาะในเซคเตอร์ที่ยัง Laggards ใน S&P 500 เช่นกลุ่มอสังหา, กลุ่มการเงิน (Cyclical) และกลุ่ม Defensive อย่างกลุ่ม Healthcare และสาธารณูปโภคใน 1-3 สัปดาห์ข้างหน้า โดย US 10Y Yield อ่อนตัวลงจากระดับ 4.3% มาที่ระดับ 4.1-4.2% ซึ่งดีกับธุรกิจที่มีสัดส่วนการกู้สูง รวมถึงหากเงินเฟ้อไม่ได้มากกว่าคาด คาดว่าหุ้นขนาดกลางเล็ก (Russell 2000) จะปรับตัวขึ้นต่อได้ (Neutral US)
  • เงินเฟ้อ CPI & Core CPI ยุโรปออกมามากกว่าคาด โดยเงินเฟ้อฝรั่งเศสมากกว่าคาดเล็กน้อย แต่เงินเฟ้อเยอรมันเริ่มออกมาต่ำคาด โดย Soft Data ด้านเซ็นติเมนต์เศรษฐกิจยุโรปเริ่มพลิกต่ำคาด แต่อย่างไรก็ตามโมเมนตัมราคาหุ้นดูดีมากขึ้นมากหลังนักลงทุน Under-owned หรือถือครองหุ้นยุโรปน้อยอยู่ก่อน ตั้งแต่ช่วง 2 ปีก่อนตอนเริ่มมีสงคราม ซึ่งกระทบเศรษฐกิจยุโรปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อที่ชะลอลง ประกอบกับราคาพลังงานที่อยู่ในกรอบที่ต่ำกว่า 2 ปีก่อน คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปกำลังทำ Bottoming-Out Process พร้อมกับ PE Valuation ที่น่าสนใจทั้งเทียบกับค่าเฉลี่ยตัวเอง 10 ปีและเทียบ Peers ทั้งกับหุ้นสหรัฐและญี่ปุ่น (Slightly Overweight EU & DAX) 
  • ยอดค้าปลีกและอัตราการว่างงานญี่ปุ่นสะท้อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นแข็งแกร่ง พร้อมเงินเฟ้อที่ออกมาใกล้เคียงกับคาดการณ์ คาดว่า BOJ จะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้น อย่างไรก็ตามราคาหุ้น Nikkei 225 ที่ Priced-In ข่าวดีไปค่อนข้างมากทำให้ Upside ระยะสั้นไม่ได้สูงมาก (Take Profit/Slightly Overweight in Mid-term) 
  • GDP Q3 23 อินเดียเทียบรายปีมากกว่าคาดถึง 8.4% (Exp. 6.6%) โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเดือน ก.พ. ขยายตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนมาที่ระดับ 56.9 ซึ่งโดยสถิติในปีเลือกตั้งหุ้นอินเดียมักจะทำผลตอบแทนได้ดี (เลือกตั้งเดือน พ.ค. 24) ในขณะที่ YTD Return ปีนี้หุ้นอินเดียยังปรับตัวขึ้นมาไม่มากหลังโมเมนตัมกำไรแม้เติบโตดีแต่ไม่ได้ Positive Surprise ในอัตราที่เยอะเช่นเดียวกับหุ้นญี่ปุ่นและหุ้นเทคสหรัฐ รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐที่ถูกปรับเพิ่มความคาดหวังเชิงบวก และตลาดลดความคาดหวังทั้งขนาดและความเร็วในการลดดอกเบี้ยของเฟด ทำให้  Fund-Inflow ยังไม่เข้ามาประเทศ EM เท่าที่ควร (Slightly Overweight India) 
  • ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ขยายตัวดีกว่าคาดมากในเดือน ม.ค. เป็น Leading Indicator สะท้อนวงจรการผลิตสินค้าเทคโนโลยีเห็นทิศทางที่ดีขึ้น ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเวียดนามขยายตัวขึ้นในเดือน ก.พ. (Slightly Overweight South Korea, Vietnam)
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการจีน NBS ขยายตัวดีกว่าคาด โดยขยายตัวที่ 51.4 (Exp. 50. ในเดือน ก.พ. ส่วนภาคการผลิตโดยไฉซินดีกว่าคาดเช่นกันที่ 50.9 (Exp. 50.6) มีเพียงดัชนีภาคการผลิต NBS ที่ยังหดตัวตามคาดที่ 49.1 โดย XAM มองว่าการฟื้นตัวของหุ้นจีนในระยะสั้นที่ผ่านมาเป็นผลจากนโยบายการอัดฉีดสภาพคล่องจาก PBOC เป็นหลักรวมถึงนโยบายเชิงคุณภาพจากตลาดหลักทรัพย์จีนที่สนับสนุนให้สถาบันในประเทศซื้อหุ้นจีนทำให้เห็น Fund-Inflow เข้าหุ้นจีนเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะจากกลุ่มสถาบันในประเทศ ซึ่งทำให้ Risk/Reward หุ้นจีน A-Shares และ Star 50 คาดว่าจะดูดีกว่า ในขณะที่หุ้นจีน H-Shares หากนโยบายแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ได้ออกมาตามตลาดคาดหวัง ก็มีโอกาสเผชิญแรงเทขายทำกำไรแรงๆได้ ซึ่งหลังแรงเทขายเป็นโอกาสสำหรับการเลือกหุ้นมาซื้อ Short Call (Neutral China/Trading/Over Allocated Investor Trim at 200 DMA) 
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ชี้ตัวเลขภาคอุตสาหกรรมติดลบ ส่วนหนึ่งมาจากสินค้าจีนที่มีราคาถูกเข้ามาทดแทนสินค้าไทย แต่มองว่าหลังการลดดอกเบี้ยพร้อมกันในหลายประเทศช่วงกลางปี คาดจะทำให้เศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่การฟื้นตัวรอบใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยว การใช้จ่ายภาครัฐคาดจะสนับสนุน GDP ไทยเติบโตได้ระดับ 3% ในปี 2024 (Neutral Thai/Over Allocated Investor Trim at 1,440-1,460) 

Investment Strategy

Slightly Overweight 
  • Global Energy, Global Property, Global Value (Interest Rates Sensitive Theme) 
  • Europe Equity (Econ & Earning Bottoming-Out/Discount Valuation) 
  • India, South Korea & Japan Value Stock (US Rates Peak & Fund-Inflow to Asia)
Overweight 
  • US Small-Cap Blended (Long-term Higher Expected Return)
  • Public and Private Credits (Sea Change - Lender Win)

Fund Recommended

  • KT-ENERGY กองทุนหุ้นพลังงานทั่วโลก, K-GPROP-A(A) กองทุนอสังหาทั่วโลก, SCBPGF กองทุน Global Value, SCBEUSM EU Small-Cap Blended
  • KT-INDIA หุ้นอินเดีย, SCBKEQTG หุ้นเกาหลีใต้ และ TMBJPNAE หุ้น Japan Small-Cap Value
  • ABAGS หุ้น US Small-Cap Blended
  • UGIS กองทุน Pimco Global Bond Flexible Duration และ ASP-SC-UI กองทุน Oaktree Private Credits

XSpring AM

Source: Bloomberg, Reuter

ดาวน์โหลด