การประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน




การประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน

วันนี้ XSpring Asset Management อยากจะมาเล่าถึงการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทางการเงินอย่างสถาบัน CFA (Chartered Financial Analyst) โดยคุณ Matt Hougan และ คุณ David Lawant ซึ่งทางสถานบันทางการเงินอย่าง CFA เค้าจะมีวิธีประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี อย่างไรมาดูกันครับ


วิธีที่หนึ่ง จะเป็นวิธีการประเมินมูลค่าอย่างคร่าว โดยมีชื่อเรียกวิธีการประเมินนี้ว่าหลักการแทนที่ (Addressable Market) ซึ่งสมมติฐานของวิธีหลักการแทนที่ (Addressable Market) คือ การมีความเชื่อว่า Bitcoin คริปโทเคอร์เรนซี อันดับที่หนึ่ง และคริปโทเคอร์เรนซีแรกของโลกจะเข้ามาทำหน้าที่รักษามูลค่า (Store-of-value) แทนสินทรัพย์ลงทุนที่มีมายาวนาน หรือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนในการจัดพอร์ตโฟลิโอของนักลงทุน โดยจะมาแทนทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่นทองคำ หรือสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ


โดยตัวอย่างการคำนวณด้วยวิธีนี้ คือ นักลงทุนจะมีความเชื่อว่า Bitcoin จะเข้ามาเป็นสัดส่วน 5% ถึง 10% ของมูลค่าตลาดทองคำทั่วโลก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมูลค่าการซื้อขายทองคำทั่วโลกเฉลี่ยในแต่ละวันจะต่ำกว่า 10% ของมูลค่าทองคำทั้งโลก ซึ่งในปี 2023 นี้ตลาดทองคำทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 13 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น 10% ของมูลค่าตลาดทองคำเท่ากับ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากเทียบกับจำนวนอุปทาน (Supply) ของ Bitcoin ที่มีอยู่ประมาณ 19 ล้านเหรียญ ณ ปัจจุบัน (จำนวน Bitcoin จะถูกขุดจนครบ 21 ล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2140) นั้นหมายความว่ามูลค่าคาดหวัง Bitcoin ต่อเหรียญจะเป็น 68,400 เหรียญต่อ 1 Bitcoin นั้นเอง

อย่างไรก็ตามข้อควรระวังของการประเมินมูลค่าด้วยวิธีดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินอย่างคร่าว และสมมติฐานที่เปรียบเทียบเชิงสัดส่วนอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป


วิธีที่สองคือการประยุกต์ทฤษฎีสภาพคล่องของตลาดเงินโดย คุณ Chris Burniske ซึ่งทฤษฎีเดิมพูดถึงมูลค่าของสินทรัพย์ (ราคา x จำนวน) จะแปรผันตามเงินทุนที่หมุนเวียนในระบบ (ปริมาณเงินในระบบทั้งหมด x ความเร็วในการหมุนเวียนของเงินนั้น) หรือ M x V = P x Q (ทฤษฎีทางการเงินที่คิดค้นขึ้นโดย เออร์วิง ฟิชเชอร์: Irving Fisher)


ตัวอย่างเช่น:
M: มูลค่าหลักทรัพย์ตามตลาดหรือ Market Capitalization ของคริปโทเคอร์เรนซี
V: จำนวนรอบหรือความถี่เฉลี่ยการเปลี่ยนมือของคริปโทเคอร์เรนซี
P: ราคาซื้อ-ขายของคริปโทเคอร์เรนซีเฉลี่ยต่อธุรกรรม
Q: จำนวนธุรกรรมคริปโทเคอร์เรนซีในปี


จากสมการดังกล่าวเราสามารถตั้งสมมติฐานได้ว่า Bitcoin มีราคาเฉลี่ย (P) ทั้งปีอยู่ที่ 30,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยทั้งปี (Q) อยู่ที่ 100 ล้านธุรกรรมเทียบต่อ 1 Bitcoin และใน 1 ปี ทุก 1 Bitcoin จะมีการเปลี่ยนมือเฉลี่ย 5 ครั้ง (V) ดังนั้น มูลค่าหลักทรัพย์ตามตลาดของ Bitcoin (M) จึงควรจะเท่ากับ 600,000 ล้านเหรียญ ($30,000 x 100 Million / 5 times) ซึ่งหากหารด้วยจำนวน Bitcoin ที่มีอยู่ในตลาด ณ ปัจจุบันที่ประมาณ 19 ล้าน Bitcoin จะได้ราคา Bitcoin เฉลี่ยอยู่ที่ 31,578 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 1 Bitcoin ($600,000 ล้าน/ 19 ล้านยูนิต )


วิธีที่สามคือการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี โดยเปรียบเสมือนว่าเป็นระบบเครือข่ายหรือ Networking effect เนื่องจากคริปโทเคอร์เรนซีส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติการบนเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารแบบกระจายศูนย์

หรือระบบเครือข่าย ซึ่งเมื่อมีจำนวนผู้ต้องการใช้งานในระบบมากขึ้น ความต้องการของคริปโทเคอร์เรนซีก็ควรจะสูงขึ้นตาม ซึ่งโดยมากเมื่ออุปสงค์ (Demand) เพิ่มขึ้นราคาของคริปโทเคอร์เรนซีนั้นๆ ก็มักปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม เพียงแต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งาน และมูลค่าของระบบเครือข่ายนั้นจะเป็นการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ หรือยกกำลังสองนั้นเองตัวอย่างเช่น จำนวนผู้ใช้งานในเครือข่ายคริปโตเคอเรนซี-A เท่ากับ 100,000 ราย โดยมีสมมติฐานว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของการเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานในเครือข่าย 1 คู่ (ผู้ใช้งาน 2 ราย) เท่ากับ $1 ดังนั้นมูลค่าของเครือข่ายคริปโตเคอเรนซีเท่ากับ (100,000)^2 คูณ $1 หรือ $10,000,000,000 (หมื่นล้านเหรียญ) นั้นเอง


ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้ใช้งานในเครือข่ายคริปโตเคอเรนซี-A เท่ากับ 100,000 ราย โดยมีสมมติฐานว่ามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของการเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานในเครือข่าย 1 คู่ (ผู้ใช้งาน 2 ราย) เท่ากับ $1 ดังนั้นมูลค่าของเครือข่ายคริปโตเคอเรนซีเท่ากับ (100,000)^2 คูณ $1 หรือ $10,000,000,000 (หมื่นล้านเหรียญ) นั้นเอง


วิธีที่สี่ คือการประเมินมูลค่าด้วยต้นทุนการผลิต เช่นค่าใช้จ่ายในการทำเซิร์ฟเวอร์ การ์ดจอสำหรับการดำเนินการ ค่าไฟและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อให้ได้คริปโตเคอเรนซีมา หรือหากเปรียบเทียบกับทองคำที่จับต้องได้ และคุ้นเคยแล้วนั้นก็คือราคาต้นทุนของการขุดเหมืองทอง เช่นหากต้นทุนหน้าเหมืองทองอยู่ที่ 1,200 เหรียญ ราคาทองคำก็ไม่ควรต่ำกว่าราคาดังกล่าว


วิธีสุดท้ายคือการประเมินมูลค่าผ่านโมเดล S2F (Stock-to-flow) ซึ่งถูกคิดค้นโดย ผู้ใช้นามแฝงว่า Plan B ซึ่งเป็นหนึ่งผู้ใช้งาน Bitcoin ในชุมชนนักลงทุน Bitcoin วิธี S2F นั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า Bitcoin เปรียบเสมือนสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความต้องการในตลาดเพียงมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) โดยราคา หรือมูลค่าในแต่ละปีมักจะแปลผันไปตามสัดส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมหารด้วยผลผลิตใหม่ที่เพิ่มขึนในแต่ละปี


ดังนั้นด้วยสมBitcoin เดิมที่มีอยู่ในระบบหารด้วย Bitcoin ใหม่ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง (เนื่องจาก Bitcoin จะมีการลดกำลังการผลิตของ Bitcoin ใหม่ลงครึ่งหนึ่งในทุก 4 ปี) หรืออีกนัยหนึงคือเมื่อตัวหารน้อยลงแต่ตัวตั้งต้นเท่าเดิมหรือมากขึ้นย่อมส่งผลให้มูลค่า Bitcoin มีแต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางสมาคม CFA เองนั้นก็ยังไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้เท่าไหร่นักติฐานดังกล่าวบวกกับการที่จำนวน Bitcoin ใหม่เข้าผ่านมาในระบบน้อยลงเรื่อยๆ แต่จำนวนเก่าไม่ได้ถูกทำให้หมดไปจากระบบ เพียงแต่แค่เปลี่ยนมือเท่านั้น การคำนวณด้วยการหลักการ Stock-to-Flow นั้นจะตั้งต้น มูลค่า
ทั้งนี้ วิธีการประเมินมูลค่า 5 วิธีที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นเพียงแนวทางการประเมินมูลค่าบนสมมติฐานที่ต่างกันเท่านั้น และนักลงทุนควรแยกให้ออกระหว่างการประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุน หรือการเก็งกำไร เนื่องจาก กลุ่มผู้ซื้อ-ขาย


คริปโตเคอร์เรนซีในปัจจุบันนั้น ยังคงมีลักษณะการเก็งกำไรเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะการเก็งกำไรในระยะสั้น ถึงสั้นมาก จึงส่งผลให้การประเมินมูลค่าเพื่อการลงทุนอาจจะไม่ใช่หลักการที่เหมาะสมเท่าไหร่ เนื่องจากสภาพตลาดในปัจจุบันมีความผันผวน และมีผู้ลงทุนเข้าซื้อ-ขายเพื่อการเก็งกำไร เป็นส่วนใหญ่
สุดท้ายนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรลงทุนการกระจายการลงทุน หรือการจัดพอร์ตการลงทุนแบ่งเป็นสัดส่วนเงินลงทุนในแต่ละประเภททรัพย์สินตามความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของสินทรัพย์อย่างคริปโตเคอเรนซีครับ


โดย นายธนทัต มัตยะสุวรรณ
Investment Product and Strategy
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
ข้อมูลอ้างอิง- https://www.cfainstitute.org/-/media/documents/article/rf-brief/rfbr-cryptoassets.ashx