ปรับพอร์ตขจัดความผันผวนเลือกแบบไหนดีระหว่าง Public Asset vs Private Asset !?
ขึ้นชื่อว่านักลงทุนสิ่งที่คาดหวังมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการทำกำไรอย่างแน่นอน การจะเลือกสินทรัพย์ในการลงทุนจึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูงอย่างในปัจจุบัน ทั้งเงินเฟ้อที่ยังคงเร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสภาวะความตึงเครียดจากสงคราม ทำให้นโยบายรัฐจึงจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหา และกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันนักลงทุนก็จำเป็นต้องปรับพอร์ตให้มีความยืดหยุ่น ตามนโยบายของรัฐเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุนของตัวเอง Private Asset จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนได้ดีที่สุด หากนักลงทุนสามารถกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ทั้งสองประเภทในสัดส่วนที่ถูกต้อง และสำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Public Asset และ Private Asset คืออะไร? และ แตกต่างกันอย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบ!
เริ่มต้นกันที่ Public Asset หากให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆมันคือสินทรัพย์ลงทุนที่ผ่านการ Standardized จากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ของแต่ละประเทศเพื่อระดมทุนให้ประชาชนทั่วไป โดยมีหลายประเภทสินทรัพย์ลงทุน ซึ่งแต่ละสินทรัพย์ลงทุนก็จะให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังในระยะกลางถึงยาวและความผันผวนที่แตกต่างกันไป เนื่องจากแต่ละสินทรัพย์ล้วนมีปัจจัยส่วนตัวในความผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจยกตัวอย่างเช่น เงินสดหรือพันธบัตรรัฐบาลอายุสั้นๆ แทบจะไม่มีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้เลยตราบเท่าที่รัฐบาลประเทศนั้นๆยังมีความน่าเชื่อถือ ส่วนตราสารหนี้เอกชนก็ขึ้นอยู่กับการที่เรานำเงินของเราไปซื้อหุ้นกู้เพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำเงินไปใช้ และให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ซึ่งถ้าบริษัทใหญ่ๆที่มั่นคง มีสินทรัพย์ มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ ไม่ได้มีการตกแต่งงบทางการเงิน หรือไม่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานก็มีความเสี่ยงต่ำที่บริษัทจะผิดชำระหนี้ ทางด้านหุ้นแน่นอนคือการที่เราไปเป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือพูดง่ายๆก็คือเราเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งความผันผวนจะสูงเนื่องจากนักลงทุนสามารถซื้อขายได้แบบเรียลไทม์ยิ่งไปกว่านั้นยังมีปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยทางด้านสังคมที่เป็นเรื่องเปราะบางที่สามารถทำให้หุ้นสามารถขึ้นหรือตกได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าตราสารหนี้
อย่างไรก็ตามการเลือกหุ้นก็ขึ้นอยู่กับธุรกิจและบริษัทที่เราไปลงทุนเป็นสำคัญหากต้องการหุ้นที่มีความผันผวนต่ำและค่อนข้างมั่นคง เช่น หุ้นธุรกิจที่ได้สัมปทานในระยะยาวเช่นธุรกิจสาธารณูปโภคและบริษัทยาขนาดยักษ์ต่อให้เศรษฐกิจแย่มากๆ กำไรก็ยังสม่ำเสมอไม่ได้แตกต่างกันมากในแต่ละปี ก็เป็นทางเลือกที่ดีเนื่องจากราคาหุ้นจะผันผวนต่ำกว่าหุ้นประเภทที่กำไรของปีที่ดีกับปีที่แย่สวิง เช่นปีกำไรปีดีต่างกันกับกำไรปีแย่ๆหลายสิบหลายร้อยเท่า
ด้าน Private Asset คือ “สินทรัพย์ที่ไม่ได้เข้าไประดมทุนในตลาดทุนผ่านสาธารณะ” กล่าวคือขั้นตอนการระดมทุนผ่านตลาดทุนต้องใช้ระยะเวลา ต้องมีเรื่องเอกสารและระบบงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งหลายครั้งทำให้หลายธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนเพื่อพัฒนาธุรกิจ เช่น หากต้องการจะเทคโอเวอร์ดีลบางอย่างซึ่งต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ซึ่งแหล่งเงินที่ “ไวกว่า” ได้แก่ช่องทางจาก Private Asset Management Company หรืออีกเรื่องคือกรณีที่ดีลมีขนาดเล็ก ทำให้อาจไม่คุ้มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหากจะเสนอขายตามขั้นตอนของ Public Asset ทุกขั้นตอน เลยเป็นที่มาของการระดมทุนในรูปแบบ Private Deal
ตลอด 45 ปีที่ผ่านรูปแบบการระดมทุนในลักษณะดังกล่าวได้รับความนิยมอยากมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐและในยุโรป เนื่องจาก Private Deal สามารถนำเสนอให้กับนักลงทุนผู้มีสินทรัพย์สูง (Ultra-High Net Worth) ได้อย่างรวดเร็วซึ่งตอบโจทย์ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินและต้องการเงินหมุนเวียนในบริษัท ในมุมนักลงทุนการลดค่าใช้จ่ายในการระดมทุนทำให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังสูงขึ้น รวมถึงช่วงเวลาในการจ่าย Cash Flow ของนักลงทุนก็เป็นไปตามงวดงานจริงมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
ในแง่ความผันผวน เมื่อนักลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนใน Private Deal ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนผู้มีสินทรัพย์สูง (Ultra-High Net Worth) หรือนักลงทุนสถาบัน จะมีน้อยครั้งมากที่จะเกิดการเทขายในระดับราคาที่ไม่เหมาะสมเหมือนกับนักลงทุนรายย่อย (Retail Investors) เช่นยามที่เศรษฐกิจประเทศใหญ่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นปี 1991, 2001, 2008 และ 2020 จะเห็นว่าขนาดการติดลบของ Private Deal จะต่ำกว่า เนื่องจากการลงทุนในลักษณะดังกล่าวคือการลงทุนเพื่อคุณค่าในระยะยาว ซึ่งนักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนที่มีสินทรัพย์สูงจะมองไปอีก 10 ปีหน้า ทำให้ไม่เกิดแรงเทขายออกมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่นยามที่ทุกคนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ต้องการถือเงินสด และ Valuation ถูกจนไม่สมเหตุสมผล
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นข้อเสียที่ชัดเจนที่สุดของ Private Deal คือการที่ข้อมูลที่จะใช้ติดตามจะน้อยกว่าและเฉพาะกลุ่มมากกว่า และมีสภาพคล่องต่ำกว่าด้วย รวมถึงมีความเสี่ยงจากการดำเนินงาน รวมถึงต้องเช็ครายละเอียดข้อกฏหมายและสัญญาให้ดี นักลงทุนต้องมั่นใจว่าสามารถถือลงทุนในระยะยาว
ได้ เพราะการจะขายการลงทุนออกมานั้นยากกว่าสินทรัพย์ลงทุนที่เป็น Public Asset มากในยามนักลงทุนขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถขายได้ทุกราคาตาม Offer ที่มีเหมือนกับ Public Asset
นักลงทุนที่มีสินทรัพย์สูง (Ultra-High Net Worth) หรือนักลงทุนสถาบันสามารถพิจารณาลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดได้เพื่อการกระจายการลงทุน ลดความผันผวนด้านราคาของสินทรัพย์ลงทุนในตลาด และช่วยทำให้ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนโดยรวมดูน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริงของเรา เตรียมออกซีรี่การลงทุน “Private Real Estate” ที่ให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังที่น่าสนใจ ที่ระดับ 7-12% (คำเตือน: ผู้ลงทุนควรตระหนักว่าอัตราผลตอบแทนคาดหวังดังกล่าว ไม่ได้เป็นการรับประกันหรือทำให้คาดหวังได้ว่าผู้ลงทุนจะได้รับอัตราผลตอบแทนตามอัตรานั้น) ความเสี่ยงของผู้ออกตราสารและบริหารจัดการโปรเจคต่ำ (Top Tier Developer) และที่สำคัญคือระยะเวลาการลงทุนในแต่ละดีลอยู่ระหว่าง 2-5 ปีซึ่งถือว่าสั้นกว่าการลงทุน Private Real Estate และ Private Equity โดยทั่วไปมาก อีกทั้งยังเป็นการลงทุนในประเทศ นักลงทุนไม่ต้องกังวลความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงความกังวลในการส่งเงินออกนอกประเทศ นอกจากนี้แต่ละดีลยังอยู่ใน Prime Location ที่นักลงทุนสามารถทำ Market Survey ดูความต้องการซื้อและความเป็นไปได้ของโครงการได้ด้วยตัวเอง
เราจึงมองว่าการที่ลูกค้ารายใหญ่จะแบ่งเงินสัดส่วน 3-5% มากระจายลงทุนในแต่ละดีลน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดที่มีความผันผวนสูง จากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลตอบแทนที่น่าผิดหวัง ตามสัดส่วนนักลงทุนในระยะกลางและยาวที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับกันเราเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงที่ดีขึ้น
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
โดย นนท์นลิน ทังสุนทร - ฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์การลงทุน
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด